Relax Coffee Cafe

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จากการทดลองนำหัวเชื้อมาขยาย

ภาพชุดที่ 1 จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การนำมาขยาย มีการทดลอง โดยนำสายพันธุ์สีน้ำตาลมาขยายในขวดขนาด 1,500 CC. ปริมาณหัวเชื้อ 45 CC (สีนำ้ตาลแถวที่ 1) สำหรับแถวที่ 2 ต้องการทดลองบางอย่าง จึงใช้ปริมาณหัวเชื้อ 60 CC พร้อมด้วยไข่ไก่ที่ผสมด้วยชูรสและน้ำปลาตามสูตรที่เคยนำเสนอไว้ ในปริมาณ 1 ช้อนแกง

น้ำมะพร้าวเทียม

เตรียมทำน้ำมะพร้าวเทียม เพื่อนำไปใช้รดต้นไม้ เพิ่มเป็นส่วนขยาย สารพัดประโยชน์

ส่วนผสม น้ำตาล 1 กิโลกรัม รำละเอียด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หากต้องการปริมาณที่มาก ก็ปรับเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วยการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไว้ใช้งานกันดีกว่า

การทำจุลินทรีย์เพิ่มเติม ด้วยการใช้หัวเชื้อที่เราได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น วันนี้ที่พวกเราพากันทำ ด้วยการนำหัวเชื้อมา 2 สายพันธุ์ นั่นคือสีเขียว และสีน้ำตาล

หัวเชื้อส่วนขยาย

นำหัวเชื้อมาสร้างส่วนขยาย

เราใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อสร้างหัวเชื้อ ถ้าเราสามารถนำส่วนขยายมาเติมใหม่ เราก็จะมีธาตุอาหารให้กับพืชมากขึ้น ลองศึกษาวิธีการดูครับ

จุลินทรีย์ปลา

การผลิตหัวเชื้อด้วยจุลินทรีย์ปลา

วัตถุอินทรีย์ที่เราต้องการ คือ หัวปลา เศษปลา ก้างปลา จัดหามาได้ตามความต้องการ ตัวอย่างที่เริ่มจัดทำ ใช้หัวปลาน้ำหนัก 3 กิโลกรัม สับประรด จัดมา 2-3 กิโลกรัม พร้อมด้วยรำละเอียด และกากน้ำตาล

น้ำมะพร้าวเทียม

สูตร น้ำมะพร้าวเทียม ของอาจารย์ธงชนะ พรหมมิ : นำน้ำตาลอ้อย หรือน้ำตาลสีรำ 1 กิโลกรัม พร้อมด้วยรำละเอียด 1 กิโลกรัมมาเป็นส่วนประกอบ

ปุ๋ยหมัก

หมักหญ้าสด

เริ่มต้นที่ผมตั้งใจ จะใช้หญ้าสด ที่ตัดมาจากสำนักงาน ตามปกติจะเผาทิ้งทุกครั้ง ตั้งแต่รู้ความจริงว่า หญ้า คือ ทองคำ ไม่ใช่ สิ่งของที่ไม่มีค่า จึงตัดสินใจนำหญ้ามาเป็นวัตถุอินทรีย์ตัวที่หนึ่ง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นแบคทีเรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำเค็ม น้ำจืด ความมหัศจรรย์ของแบคทีเรียชนิดนี้ อยู่ตรงกระบวนการที่อยู่ในเซลล์ เมื่ออยู่ในกระบวนการที่ใช้แสงก็เกิดกระบวนการ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้

ปุ๋ยหมัก NPK

ปุ๋ยหมัก ครั้งแรก

“ทำเท่าที่รู้ แล้วจะรู้วิธีทำ” คำนี้ใช้ได้เสมอ

จากการดูยูทูปได้ครูดี อาจารย์ธงชนะ พรหมมิ ที่ผมได้ติดตามหาความรู้มาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เกิดความประทับใจที่ท่านถ่ายทอดความรู้ แบบหมดไส้หมดพุง จนเกิดความมั่นใจว่า ถ้านำความรู้ที่ท่านบอกมา นำไปปรับประยุกต์ใช้บ้าง ก็จะเกิดประโยชน์แน่ๆ จึงตัดสินใจที่จะเริ่มต้นทำปุ๋ยหมักขึ้นมาเป็นครั้งแรก